Customize Consent Preferences

We use cookies to help you navigate efficiently and perform certain functions. You will find detailed information about all cookies under each consent category below.

The cookies that are categorized as "Necessary" are stored on your browser as they are essential for enabling the basic functionalities of the site. ... 

Always Active

Necessary cookies are required to enable the basic features of this site, such as providing secure log-in or adjusting your consent preferences. These cookies do not store any personally identifiable data.

Functional cookies help perform certain functionalities like sharing the content of the website on social media platforms, collecting feedback, and other third-party features.

Analytical cookies are used to understand how visitors interact with the website. These cookies help provide information on metrics such as the number of visitors, bounce rate, traffic source, etc.

Performance cookies are used to understand and analyze the key performance indexes of the website which helps in delivering a better user experience for the visitors.

Advertisement cookies are used to provide visitors with customized advertisements based on the pages you visited previously and to analyze the effectiveness of the ad campaigns.

Skip to content Skip to footer

ชาติศิริ โสภณพนิช นักการเงินแห่งปี 2567 Financier of the Year 2024

วารสาร ฉบับเดือนธันวาคม 2567 ประกาศรางวัลเกียรติยศ “” โดยคณะกรรมการตัดสินรางวัลมีมติให้ ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ครองตำแหน่ง 2567 ซึ่งเป็นคนแรกที่ได้ครองตำแหน่งนี้ถึง 3 ครั้ง ด้วยคุณสมบัติของการเป็นนักการเงินแห่งปีครบถ้วนตามหลักเกณฑ์การพิจารณาทั้ง 4 ด้าน เป็นนักการเงินมืออาชีพที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและทันสมัย มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ สร้างความเติบโตยั่งยืนให้กับองค์กร รับผิดชอบต่อสังคมและทำคุณประโยชน์ต่อส่วนรวม

ปีนี้เป็นปีที่ 42 ปีแล้วที่ วารสาร ได้มอบ รางวัลเกียรติยศนักการเงินแห่งปี” Financier of the Year เพื่อยกย่องผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทประกัน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ที่มีผลงานโดดเด่น มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทันสมัย สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตก้าวหน้าและยั่งยืนในทุกสถานการณ์เศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์และพิสูจน์แล้วว่า รางวัลเกียรติยศ “นักการเงินแห่งปี” ของ วารสาร เป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจ เป็นที่ยอมรับจากทุกภาค ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรธุรกิจ

สำหรับปี 2567 คณะกรรมการตัดสิน รางวัลเกียรติยศ “นักการเงินแห่งปี” มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ ชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ครองตำแหน่งนักการเงินแห่งปี 2567 ด้วยผลงานที่โดดเด่นผ่านคุณสมบัติการเป็นนักการเงินแห่งปี ตามหลักเกณฑ์ทั้ง 4 ด้านคือ 1.เป็นนักการเงินที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและทันสมัย 2.เป็นนักการเงินมืออาชีพที่มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ 3.เป็นนักการเงินที่สร้างความเจริญเติบโตและยั่งยืนให้กับองค์กร และ 4.เป็นนักการเงินที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและทำคุณประโยชน์ต่อส่วนรวม

ชาติศิริ เป็นนักการเงินแห่งปีคนแรกที่ได้ครองตำแหน่งถึง 3 ครั้ง โดยเป็นนักการเงินแห่งปีครั้งแรกในปี 2544 ต่อมาครองตำแหน่งเป็นครั้งที่สองในปี 2562 และมาล่าสุดในปี 2567 ได้ครองตำแหน่งเป็นครั้งที่สาม

1.เป็นนักการเงินที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลและทันสมัย

ตลอด 30 ปีของการเข้ามารับภารกิจนำทัพธนาคารกรุงเทพในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ ชาติศิริ มีวิสัยทัศน์ชัดเจนในการปักหมุดให้ธนาคารกรุงเทพก้าวเป็น “ธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาค” (Regional Bank) เสริมสร้างรากฐานของธนาคารเพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ส่งผลให้ธนาคารกรุงเทพที่มีอายุครบ 80 ปีในปีนี้ เติบโตเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดสินทรัพย์ใหญ่ที่สุดในประเทศถึง 4.5 ล้านล้านบาท และเป็นธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 6 ของอาเซียนที่มีเครือข่ายต่างประเทศครอบคลุม 14 เขตเศรษฐกิจสำคัญทั่วโลก ได้แก่ กัมพูชา จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

รวมทั้งยังมีบริษัทย่อยในต่างประเทศ ประกอบด้วย บางกอก แบงก์ เบอร์ฮาด ที่มีสาขา 5 แห่งทั่วประเทศมาเลเซีย ธนาคารกรุงเทพ (ประเทศจีน) จำกัด ที่มีสาขา 5 แห่งในเมืองหลักๆ ของประเทศจีน และธนาคารพีที เพอร์มาตา ทีบีเค ธนาคารที่มีขนาดใหญ่อันดับ 8 ของประเทศอินโดนีเซีย

ล่าสุด ธนาคารกรุงเทพ ยังอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลสำหรับการตัดสินใจขยายสาขาไปยังประเทศอินเดีย เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าและนักลงทุนที่กำลังเติบโตสูงในตลาดที่มีศักยภาพนี้  ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า ธนาคารกรุงเทพ เป็นธนาคารแรกของไทยที่เป็นมีสถานะเป็นธนาคารแห่งภูมิภาคอย่างแท้จริง

และจากกระแส Digital Disruption ที่รุกเข้ามาในโลกของธุรกิจการเงิน ชาติศิริตระหนักดีว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ธนาคารจึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือบริบทใหม่นี้ โดยกำหนดเป้าหมายให้ ธนาคารกรุงเทพ เป็น “องค์กรอัจฉริยะ” ขยายการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะและระบบอัตโนมัติ ซึ่งรวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และซอฟต์แวร์บอตทำงานอัตโนมัติ (Robotic Process Automation) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล

นอกจากนี้ ธนาคารยังใช้เทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เช่น Data Lake และศูนย์ความเป็นเลิศด้านคลาวด์ (Cloud Center of Excellence) เพื่อให้มั่นใจว่าธนาคารมีเทคโนโลยีและทักษะที่เหมาะสมในการเป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศดิจิทัลของประเทศไทย

2. เป็นนักการเงินมืออาชีพที่มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ

ชาติศิริได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความเป็นนักการเงินมืออาชีพที่มีความซื่อสัตย์ ต่อวิชาชีพตลอด 3 ทศวรรษที่ก้าวเข้ามาบริหารธนาคารกรุงเทพ ด้วยการยึดหัวใจหลักของการบริหารงานที่มุ่งเน้นเรื่อง “ความมั่นคงและก้าวหน้าอย่างมีสถียรภาพ” โดยดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ บริหารความเสี่ยงอย่างระมัดระวัง และตัดสินใจทางธุรกิจโดยคำนึงถึงประโยชน์ระยะยาวของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งธนาคาร ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า และพนักงาน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้้นอย่างรวดเร็ว “การบริหารความเสี่่ยง” เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยป้องกันหรือบรรเทาความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินธุุรกิจ และความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ดังนั้น ภายใต้การนำของชาติศิริจึงได้ปลูกฝังวัฒนธรรมด้านความเสี่ยงให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการดำเนินธุรกิจของธนาคารต่อความเสี่ยง และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกสถานการณ์

นอกจากนี้ ชาติศิริยังสร้างให้ธนาคารกรุงเทพมี “วัฒนธรรมองค์กรด้านธรรมาภิบาลที่ดี” ทั้งในระดับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน ที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายและแนวทางปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการของธนาคารอย่างเคร่งครัด

3. เป็นนักการเงินที่สร้างความเจริญเติบโตให้กับองค์กร

ชาติศิริได้ยึดถือเจตนารมณ์ของการเป็น “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน” ซึ่งจากเจตนารมณ์ที่แน่วแน่นี้นำไปสู่แนวนโยบายในการบริหารงานและกลยุทธ์ในการทำธุรกิจของธนาคารที่สามารถสร้างความเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

สำหรับในปี 2567 นี้ ชาติศิริ ได้กำหนดกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจโดยมุ่งเน้น Key Business Focus 5 ด้าน  ได้แก่  1.การเติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยเน้นการขยายฐานลูกค้าในภาคธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน 2.พันธมิตรด้านแพลตฟอร์ม โดยร่วมมือกับพันธมิตรที่เป็นแพลตฟอร์มขายสินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งทำให้ธนาคารเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการแพลตฟอร์ม และเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าอย่างทันสถานการณ์ 

3.ความมั่งคั่งและมั่นคงทางการเงิน โดยนำเสนอบริการที่จะช่วยให้ลูกค้าสร้างความมั่นคงทางการเงินสำหรับครอบครัวในอนาคต  4.องค์กรอัจฉริยะ โดยพัฒนาศักยภาพด้านข้อมูล ซึ่งช่วยให้ธนาคารเข้าใจความต้องการของลูกค้าทั้งในปัจจุบันและในอนาคต  และ 5.การปรับรูปแบบธุรกิจ โดยประสานความร่วมมือและนำวิธีการแบบใหม่มาใช้ในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน

ชาติศิริยังมุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งจากภายในด้วยยุทธศาสตร์ “One Family One Team” ที่ส่งเสริมให้บุคลากรของธนาคาร ธนาคารในเครือ และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินของธนาคาร ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน คือ การมอบบริการที่เป็นเลิศด้วยคุณภาพและน้ำใจให้แก่ลูกค้าอย่างไร้รอยต่อ ทุกที่ทุกเวลา

ด้วยความมุ่งมั่นของชาติศิริในการสร้างความเจริญเติบโตให้กับองค์กร ส่งผลให้ธนาคารกรุงเทพเป็นธนาคารที่มีมูลค่าสินทรัพย์ 4,475,155 ล้านบาท สูงเป็นอันดับ 1 ในระบบธนาคารพาณิชย์ของไทย และสามารถสร้างผลกำไรสุทธิในงวด 9 เดือนแรกของปี 2567 จำนวน 34,807 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 6.2% พร้อมทั้งรักษาเสถียรภาพฐานะการเงิน สภาพคล่อง และดำรงเงินกองทุนให้อยู่ในระดับสูงถึง 20.8% เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

4. เป็นนักการเงินที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และทำคุณประโยชน์ต่อส่วนรวม

ธนาคารกรุงเทพภายใต้การนำของชาติศิริยังคงขับเคลื่อนการดำเนินงานด้าน ESG ครอบคลุมมิตติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมมาภิบาลอย่างต่อเนื่อง เพราะเชื่อมั่นว่า ESG จะทำให้ธนาคารเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยได้กำหนดนโยบายด้านความยั่งยืนและวางกรอบการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ภายใต้แนวคิด

‘Creating Value for a Sustainable Future สรรค์สร้างคุณค่าเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน’ เพื่อตอกย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ คำนึงถึงความยั่งยืนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

นอกจากนี้ ธนาคารยังดำเนินการอีกหลากหลายกิจกรรมด้านการเสริมสร้างความมั่นคงเข้มแข็งของชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ตั้งแต่บุคลากรของธนาคาร ชุมชนในพื้นที่ประกอบการ และสังคมในวงกว้าง ด้วยโครงการ Bualuang Save the Earth ซึ่งเป็นโครงการต้นแบบสำหรับกิจกรรมรักษ์โลกที่มุ่งสร้างผลสัมฤทธิ์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม